18 เมษายน 2024, 14:36:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เว็บบอร์ด   ช่วยเหลือ ซื้อขายสินค้า Shop เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ:  ขับรถตอนน้ำท่วม... ทำอย่างไร???  (อ่าน 13540 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
win-win
Full Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID number: 56
กระทู้: 126
$10.01 credits

View Inventory
Send Money to win-win

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 376
-ได้รับ: 461



พลังชีวิต
0%


« เมื่อ: 11 ตุลาคม 2011, 15:27:28 »


ข้อแรก ถ้าไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงอย่างไม่ต้องสงสัย และไม่ต้องกลัวว่ารถจะดับหรือปล่าว หรือจะมีปัญหาอะไรตามมา เช่น น้ำจะเข้ารถหรือปล่าว แล้วจะเกิดผลเสียต่ออุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่ แต่ถ้ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราควรทำอย่างไรดีละ

ข้อ 1 คือ ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด ในขณะขับรถลุยน้ำลึก หรือแม้จะน้ำตื้นก็ตาม
เพราะ สาเหตุที่รถดับ ส่วนใหญ่เกิดจากการเปิดแอร์แล้วขับลุยน้ำ ที่ผมบอกอย่างนี้ ก็เพราะว่า เมื่อเราเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน และอย่าลืมสิ ว่าเรากำลังลุยน้ำลึก อย่างที่ผมเจอวันนี้ ก็คิดว่าน่าจะเกินระดับพัดลม เพราะฉะนั้น ถ้าเราขืนเปิดพัดลมละก็ สิ่งที่จะตามมา ก็คือ ใบพัดจะพัดให้น้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง แล้วคุณลองคิดดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น นั่นก็คือ เครื่องจะดับเอาง่าย ๆ หรือ ถ้าโชคดี หรือโชคร้าย ถ้าเครื่องไม่ดับ ใบพัดก็จะหมุน ๆ ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอกว่า ขณะที่เราลุยน้ำ อะไรมันจะลอยมาบ้าง มันมีสารพัด ไม่ว่าจะเป็น ขยะ กิ่งไม้ ไม้หน้าสาม ถุงพลาสติก รองเท้า ... สิ่งของพวกนี้ มันมีโอกาสที่จะเข้ามาในห้องเครื่อง แล้วโดนใบพัดตัดจนใบพัดหัก ซึ่งถ้าใบพัดหัก แน่นอนว่า เราขับรถต่อไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะระบบระบายความร้อนจะมีปัญหา

ข้อ 2 ควรใช้เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา ก็ใช้ประมาณเกียร์ 2 หรือสำหรับออโต้ ก็ใช้เกียร์ L ก็ได้ครับ รวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำที่สุด
เท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วสม่ำเสมอ อย่าหยุดอย่าเร่งความเร็วขึ้น

ข้อ 3 คือ ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูง ๆ เพราะเห็นผู้ขับขี่หลาย ๆ คนมักจะเร่งเครื่องแรง ๆ เพราะอะไรรู้ไหมครับ เพราะกลัวเครื่องดับ
เพราะกลัวน้ำเข้าท่อไอเสีย ซึ่งจริง ๆ แล้วมันเป็นความคิดที่ผิดมาก ๆ แท้ที่จริงแล้ว การเร่งเครื่อง ยิ่งทำให้รถมีความร้อนสูงขึ้น เมื่อเครื่องมีความร้อนสูงขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และสิ่งที่จะตามมาก็เหมือนกับข้อ 1
ไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะเข้าท่อไอเสียครับ เพราะต่อให้น้ำจะท่วมท่อไอเสีย แล้วคุณสตาร์ทรถอยู่ที่รอบเดินเบา แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะดันน้ำออกมาอย่างสบาย ๆ ต่อให้คุณจอดรถทิ้งไว้จนน้ำท่วมท่อไอเสียก็ตาม เมื่อคุณเข้าไปในรถ แล้วสตาร์ทรถ ผมกล้าพูดได้เลยทีเดียวติดแน่นอน (กรณีนี้ ที่ผมกล้าพูดว่ารถสามารถสตาร์ทติด คือ น้ำท่วม แค่ท่วมท่อไอเสียนะ ไม่ใช่ท่วมฝากระโปรงนะครับ) แต่สำหรับรถคาบู ผมเองก็ไม่แน่ใจ ว่าถ้าถึงขั้นน้ำท่วมท่อไอเสีย แล้วมันจะสตาร์ทติดหรือไม่ แต่สำหรับเครื่องหัวฉีดสบายใจได้ครับ

4. ควรลดความเร็วลง เมื่อ กำลังจะขับรถสวนกับอีกคันที่กำลังขับมา
เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นชนคลื่น อย่างที่ผมบอก ซึ่งน้ำที่ปะทะระหว่างรถของเราและรถที่วิ่งสวนมา มันก็อาจทำให้น้ำกระเด็นไปทำอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในได้ หลังจากเราลุยน้ำลึกมา สิ่งที่ควรทำต่อ ก็คือ ข้อแรก พยายามย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรก ๆ หลังจากการลุยน้ำลึกมา มันจะเบรกไม่อยู่ และเป็นอันตรายมาก ถ้าเราไม่ทำการย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรก สำหรับเกียร์ธรรมดา ต้องมีการย้ำคลัชเช่นเดียวกับการย้ำเบรก เพราะหลังการลุยน้ำมา อาจมีปัญหาคลัชลื่น จึงต้องทำทั้งย้ำคลัชและย้ำเบรก

อีกข้อนึงคือ ไม่ควรดับเครื่องทันที ถึงแม้ถึงจุดหมายก็ตาม เพราะอาจมีน้ำค้างอยู่ในหม้อพักของท่อไอเสีย ซึ่งควรสตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มีไอออกจากท่อไอเสีย ก็ไม่ต้องตกใจ ก็ให้สตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้น้ำในหม้อพักมันระเหยออกไป เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ จะทำให้เกิดน้ำค้างอยู่ในหม้อพัก สิ่งที่จะตามมาคือ มันจะผุ

และหลังจากวันที่เราลุยน้ำมาแล้ว เราควรจะทำอย่างไร ไปดูกันต่อค่ะ !!!
1. ล้างรถ รวมถึง การฉีดน้ำเข้าไปในบริเวณใต้ท้องรถด้วย รวมทั้งบริเวณซุ้มล้อ เพื่อล้างพวกเศษทรายต่าง ๆ ที่มันเกาะติดอยู่ หรือบริเวณใต้ท้องรถ ซึ่งอาจมีพวกเศษขยะ เศษหญ้า ติดอยู่ ต้องเอาออกให้หมด เพราะถ้าเศษหญ้าแห้งมันติดอยู่ใต้รถ อันตรายที่จะเกิดขึ้น มันใหญ่หลวงนัก หนัก ๆ หน่อย ไฟอาจไหม้ได้ ในคู่มือยังบอกเลยครับว่า รถที่ติดตั้งตัวกรองไอเสีย หรือ (CAT) ไม่ควรจอดรถไว้บริเวณที่มีต้นหญ้าขึ้นสูง เพราะอุณหภูมิของเจ้า Catalytic Converter นั้น มันค่อนข้างสูงมาก ๆ
2. สำรวจน้ำมันเกียร์ ว่า มันมีสีผิดปกติหรือไม่ คือ ถ้ามีลักษณะคล้ายสี ชาเย็น นั่นแสดงว่า ต้องมีน้ำเข้าไปอยู่ในระบบเกียร์อย่างแน่นอน หรือถ้าเป็นไปได้ ก็เปลี่ยนน้ำมันเกียร์มันซะเลย เพื่อความสบายใจ เพราะก้านวัดน้ำมันเกียร์นั้นอยู่ค่อนข้างต่ำ และยิ่งรถผ่านการลุยน้ำลึก ๆ มา มันก็จะท่วมตัวเจ้าก้านวัด ซึ่งเป็นไปได้ที่น้ำจะซึมเข้าไปในระบบเกียร์ และมันก็จะทำให้ระบบเกียร์พัง

3. เช็คลูกปืนล้อ ซึ่ง พูดง่าย ๆ ว่า เจอน้ำทีไร ลูกปืนล้อมันก็จะดัง เวลาวิ่งความเร็วสูง ๆ อันนี้ทำใจไว้ได้เลย ว่าอาจต้องเปลี่ยน แต่ โดยปกติแล้ว เจ้าลูกปืนล้อมันจะพังเร็ว ก็เพราะสาเหตุที่ว่า จอดแช่น้ำมากกว่า แต่ถ้าวิ่งผ่านน้ำ โดยปกติ จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ถ้าแช่น้ำเมื่อไหร่ละก็ เตรียมตัวเสียเงินได้เลย

4. ตรวจสอบ พื้นพรมในรถ ว่า เปียกชื้นหรือไม่ เพราะ หลังการลุยน้ำลึกมา มีโอกาสมากที่น้ำจะซึมเข้ามาภายในห้องโดยสาร เพราะฉะนั้น ต้องเปิดผ้ายาง เปิดพรม เอามือ กดแรง ๆ ดู หรือลองเอากระดาษซับดูว่ามีน้ำอยู่หรือปล่าว ถ้ามีน้ำขังอยู่ภายในห้องโดยสาร ผมคิดว่า น่าจะถึงเวลารื้อพรมกันเลยละครับ เพื่อป้องกันปัญหาตามมา เพราะถ้าคุณไม่รื้อพรม แต่คุณอาจแค่เพียง เอาผ้าซับ ๆ ให้พื้นแห้ง แล้วจอดตากแดด จริง ๆแล้ว มันก็แห้งเหมือนกัน แต่สิ่งที่คุณไม่เห็นก็คือ สิ่งสกปรกที่มันยังค้างอยู่ในรถของคุณ ซึ่งคุณก็น่าจะรู้ว่า น้ำมันมีเชื้อโรคสารพัด แล้วเมื่อมันแห้ง มันก็จะแพร่เชื้อและเป็นเชื้อราอยู่ในพรม สิ่งที่อยากบอกต่อคือ นอกจากนี้ในรถยังมีระบบปรับอากาศที่มันจะเป็นตัวช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แล้วมันก็จะหมุนเวียน กลับไปกลับมา อยู่ในรถของคุณ นั่นก็เป็นสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้ เพราะคุณก็สูดเอาเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าไปตลอดเวลา จะว่าไปแล้ว รถสมัยนี้ค่อนข้างออกแบบมาดี ลุยน้ำไม่ค่อยดับกันหรอก ถ้าทำอย่างที่ผมบอกนะครับ ผมว่า จากสายตา วันนี้ผมลุยน้ำลึกไม่น่าต่ำกว่า 50 ซม เพราะรถรุ่นใหม่ ๆ จะย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเจ้า ECU ไว้ในตำแหน่งที่สูง พูดง่าย ๆ ว่า อยู่ในรถกันเลยหละ รวมถึงกล่องฟิวส์ต่าง ๆ ติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่ค่อนข้างสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมนี่เหละ

ที่มา : forward mail
บันทึกการเข้า
 
win-win
Full Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID number: 56
กระทู้: 126
$10.01 credits

View Inventory
Send Money to win-win

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 376
-ได้รับ: 461



พลังชีวิต
0%


« ตอบ #1 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2011, 15:36:28 »

การตรวจเช็ครถยนต์ ..หลังน้ำท่วม,รถจมน้ำ

ตอนนี้เราไปดูกันบ้างว่า  ถ้ารถจมน้ำเข้าให้  ไม่ว่าจะจำใจ  จงใจ ไม่ตั้งใจนั้น  เราควรจะทำอย่างไร?

         อันที่จริงแล้วผมไม่อยากจะเอามาบอกนักนัก? ด้วยว่าไม่อยากให้ใครเที่ยวได้เอารถยนต์ไปหล่นตูมตามลงในน้ำลึก? และไม่ได้อยากเห็นใครมีปัญหาเมื่อรถจอดอยู่กับที่แล้วน้ำไม่รักดีบ่าเข้าไปท่วมรถ? แต่อ่านข่าวที่เดี๋ยวนี้ชัก ไม่ค่อยอยากอ่านเท่าไร? ด้วยว่ามีแต่เรื่องน่ากลุ้มใจไปหมดไม่ว่าบ้านเราหรือบ้านเมือง? ก็ยังได้พบข่าวน้ำท่วมประปราย? เลยจับเอาอาการแก้ไขหลังน้ำท่วมรถขึ้นมาเล่าสู่กันฟังเสียตรงนี้ล่ะครับ

    แรกทีเดียว อย่าพยายามรีบร้อนติดเครื่องยนต์รถที่เพิ่งเอาขึ้นจากน้ำหรือน้ำลดลงไปจากการท่วมมิดเครื่องยนต์เป็นอันขาด? เพราะน้ำที่อัดอยู่ในเครื่องยนต์อาจจะทำให้ก้านสูบกับก้านกระทุ้งวาล์วในกรณีที่เป้นรถโบราณเช่นโฟล์กสวาเกน? เต่าทองนั้น? คดงอได้เลยทีเดียว?

    อย่าพ่วงไฟเพื่อติดเครื่องยนต์รถที่ไหม่กว่ารุ่นปี ค.ศ. 1989? หรือ พ.ศ. 2532? ขึ้นมา? ด้วยว่านั้นจะเปิดโอกาสให้แอลเทอร์เนอเตอร์ซึ่งมักจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า ไดชาร์จ? และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นานาประดามีในรถไหม้เสียหายได้
     
    ก่อนที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่? หรือเอาแบทเตอรี่ไปอัดไฟให้เต็มอีกทีแล้วเอามาใช้? หรือพูดให้ชัดก็ได้ว่า? ต่อขั้วแบตเตอรี่เข้ากับรถอีกครั้งหลังจากพ้นน้ำแล้วนี่? ปลดฟิวส์ของระบบถุงลมนิรภัยเพื่อไม่ให้ทำงานขึ้นมาได้ในระยะแรกนี้ก่อน? ด้วยว่าถ้าวงจรไฟฟ้าในระบบถุงลมนิรภัยเกิดลงดินหรือชอร์ตกันได้แล้วล่ะก็? ถุงลมระเบิดตูมแบบว่าทำงานให้ใช้ได้ขึ้นมาเฉย ๆ เสียของไปเปล่าๆ หลายหมื่นทีเดียวนะครับ
     
    ปกติเมื่อรู้ว่ารถจะจมน้ำ? เราก็ควรถอดสายไฟยกแบตเตอรี่ขึ้นที่สูงบนบ้านบนเรือนก่อน? ถ้าทำไม่ทันแบตเตอรี่จมน้ำอยู่ก็จะหมดไฟไปก่อนที่จะเข้าทำให้เกิดกระแสลัดวงจรทที่เสียหายเพราะน้ำได้? แต่เมื่อน้ำแห้งแล้ววงจรอาจจะลงดินอยู่? มีกระแสเข้าไปเมื่อไรลัดวงจรเมื่อนั้น? จึงควรรีบถอดสายแบตเตอรี่ออกทันทีที่รถพ้นน้ำ? ถ้าไม่ได้เอาแบตเตอรี่ออกไปเสียก่อน? โดยเฉพาะรถที่ตกน้ำลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจนั่น
     
    ทีนี้? เมื่อปล่อยให้วงจรอุปกรณ์หลายอย่างแห้งแล้ว? ก็ปลดฟิวส์ของวงจรที่มั่นใจได้ออกเสียก่อน? เช่นวงจรถุงลมนิรภัยเป็นต้น
     
    ตรวจรถยนต์ที่เพิ่งพ้นน้ำของคุณให้ถี่ถ้วน? ถ้าพบน้ำในที่เขี่ยบุหรี่? ก็เชื่อเอาไว้ก่อนว่า? น้ำคงเข้าไปถึงระบบไฟฟ้าบนหน้าปัด? เช่น? มาตรมัดต่าง ๆ และสวิตช์ได้??? และดดยที่วงจรเหล่านี้มักจะทำเป้นแผงจึงสามารถทำความสะอาดและแห้งเอามาใช้ได้ใหม่อีก? แต่ตามที่ปรากฏกันมาก็คือคุณมักจะพบปัญหาของวงจรในการใช้งานต่อไปภายหน้า? และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จมน้ำหรือเปียกน้ำนี้? อายุการใช้งานหลังจากนั้นจะค่อนไปทางข้างสั้น
     
    อย่าไปหวังอะไรให้มากนักเลยครับ? นอกเสียจากจะเปลี่ยนกันใหม่หมด? แพงอีกใช่ไหมล่ะ
     
    เกียร์อัตโนมัติกับทอรืกคอนเวิร์ตเตอร์? ต้องได้รับการล้างเอาน้ำมั่นและน้ำออกให้หมด? เช่นเดียวกับเฟืองท้าย? หรือส่วนมากในตอนนี้จะไปอยู่ข้างหน้าแล้ว? กับพวกทรานสเฟอร์ของระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ? ด้วยว่าทั้งสองอย่างนี้มีรูระบายอากาศน้ำจึงเข้าไปทางนั้นได้? ก็ต้องทำอย่างเดียวกับเกียร์อัตโนมัติ
     
    เพลาขับที่ยางหุ้มเพลาขาด? น้ำจะเข้าไปนำเอาจารบีออกไป? ต้องอัดจารบีใหม่และเปลี่ยนยางหุ้มเพลาด้วย
     
    อีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้? เมื่อตรวจเกี่ยวกับระบบส่งกำลังนี่คือ ลูกปืนล้อทั้งหน้าและหลังที่มีอยู่ในรถทั่วไป?? ต้องนำออกมาล้างอัดจารบีใหม่? ใส่กลับคืนที่ด้วยการปรับใหม่ให้แน่นตามลำดับไม่แน่นเกินไปจนล้อหมุนฝืด
     
    ล้างและเปลี่ยนน้ำระบายความร้อน? เอาโคลนเลนที่ติดอยู่ตามรังผึ้งหม้อน้ำออกให้หมด? ใส่น้ำยาลดความร้อน? หล่อลื่น? และรักษาโลหะลงผสมในน้ำระบายความร้อนใหม่อีกครั้งให้ได้ตามลำดับที่กำหนด
     
    การกำหนดอัตราส่วนผสมน้ำยากับน้ำในระบบระบายความร้อนนี้ที่กระป๋องหรือขวดน้ำยาจะมีบอกชัดเจน? ถ้าเป็นฟอร์ดก็จะมีป้ายบอกไว้ที่ระบบหรือหม้อน้ำสำรอง? โดยให้ใช้น้ำยาของฟอร์ด? 50 %? กับน้ำสะอาด? 50 %?? เป็นต้น
     
    การใช้น้ำยาสีเขียว? ราคาประหยัด? ใส่เพียงกระป๋องเดียวหกเจ็หดสิบบาทนั่น? ช่วยอะไรทางด้านการลดความร้อนและการสึกกร่อนของอะลูมิเนียมผสมในเครื่องยนต์ไม่ได้หรอกครับ? เรื่องแบบนี้ไม่ควรประหยัดเพราะจะเป็นการเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย? เมื่อถึงเวลาต้องซ่อมเครื่องยนต์ด้วยค่าใช้จ่ายหลาย ๆ หมื่นบาท
     
    อย่างน้อยก็ต้องล้างทำความสะอาดภายนอกของระบบห้ามล้อเปลี่ยนน้ำมันเบรก? และหากแช่น้ำอยู่นานก็อาจจะต้องถึงขนาดซ่อมใหญ่เบรกทั้งระบบกันเลยก็ว่าได้? ตรงนี้ไม่ต้องถึงรถจมน้ำทั้งคันหรอกครับ? แค่แช่อยู่ทั้งวันลึกท่วมล้อเท่านั้นก็ได้เรื่องแล้ว
     
    รถกระบะหนึ่งตันที่ชอบลุยน้ำลึก? เพราะเห็นว่าเครื่องยนต์ดีเซล ไม่มีระบบไฟฟ้าจุดระเบิด? ไม่ต้องกลัวน้ำเข้าระบบไฟฟ้าแล้วเครื่องดับนั้น? ถ้าน้ำเข้าเครื่องก็เสร็จเหมือนกัน? หนักกว่ารถเบนซินด้วยซ้ำไป??? และเมื่อลุยน้ำลึกมากบ่อยเข้า? น้ำก็เข้าไปในระบบห้ามล้อจนเกิดนิม? และน้ำมันเบรกเน่าเสียไปจนห้ามล้อไม่อยู่ได้นะครับ? อย่าทำเป็นล่นไป
     
    อันตรายไม่ได้น้อยก่าเขาอื่นหรอก? ถึงจะขับพ้นตรงที่น้ำท่วมได้ด้วยความเร็วจนน้ำกระจายเป็นปีกไปสาดรถอื่นเขาได้สนุกดีนั่นน่ะ??? เผลอ ๆ เป็นไข้สารตะกั่วเอาแถวนั้นเลยก็ยังเคยมี
     
    ของที่จมน้ำแล้วอาจจะต้องถึงกับเปลี่ยนเลยทีเดียวก็คือสตาร์ตเตอร์? เพราะน้ำเข้าไปนี่ฝรั่งบอกว่าซ่อมยากเสียเวลา? แต่บ้านเราคงเอาไปให้ช่างไฟฟ้าตามร้านทั่วไปล้างทำความสะอาด? ตรวจเช็กและปรับสภาพใช้ใหม่ได้? ไม่ต้องกับถึงกับต้องเปลี่ยนใหม่? แต่ต้องเอาออกมาทำแน่นอนถ้าจมน้ำครับ
     
    มาถึงตรงนี้? ที่หนักอีกอย่างคงจะเป็นพวกมอเตอร์ไฟฟ้าของกระจกไฟฟ้า? ที่นั่งปรับไฟฟ้า? และเสาอากาศไฟฟ้า? ตรงนี้อาจถึงกับต้องเปลี่ยนเพราะซ่อมยากไปก็ได้ครับ? หลายสตางค์อยู่เหมือนกัน? เพราะฉนั้นอย่าเที่ยวได้ขับรถลงไปแช่น้ำเล่น? ไม่สนุกเลยเมื่อขึ้นมาได้
     
    หมดพวกราคาแพงและเป้นปัญหาได้มาก? ก็ถึงส่วนที่มีปัญหาได้ในระดับรองลงมา? จะเปลี่ยนหรือซ่อมก็ต้องตรวจสภาพกันดูทุกส่วน? อย่าวางใจละเว้นละเป็นดี
     
    เริ่มที่แผ่นคลัตช์? จานคลัตช์? ลูกปืนคลัตช์? บางทีพอน้ำแห้งอาจจะทำท่าว่าใช้งานได้เหมือนเดิม? ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เท่าไรนัก? ใช้ไปไม่เท่าไรมักจะมีเสียง? และเริ่มแสดงอาการของปัญหาเกียร์เข้ายากขึ้นมาให้พบได้เสมอ
     
    แร็กพวงมาลัย? โดยเฉพาะพวกของพาวเวอร์ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งทที่ต้องตรวจเช็ก? แม้จะเป็นความเป็นไปได้ที่จะเสียหายเป็นรองของที่บอกมาแล้วในตอนต้น? ก็มีโอกาสเสียหายได้? รวมทั้งช็กอัพตัวยาวตัวสั้นที่ใช้มานานก่อนหน้ารถจมน้ำ? ชีลกันน้ำหลวมแล้ว? น้ำเข้าได้นะครับ? ควรเปลี่ยนถ้าพบความผิดปกติหรือไม่น่าไว้วางใจ
     
    รีเลย์? เซ็นเซอร์ต่าง ๆ สวิตช์ไฟ? และกล่องฟิวส์ก็ต้องได้รับการตรวจเช็กให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรเสียหาย?? ยังทำงานได้ดี? โดยเฉพาะกล่องฟิวส์ต้องลงดินได้ดีเช่นเดิมถ้าเกิดมีการจมน้ำอยู่ระยะหนึ่ง? เอาแค่วันเดียวหรือหลายชั่วโมงก็ไม่ดีแล้วนะครับ
     
    จานจ่ายนี่ก็ตัวดี? ถ้าเป็นแบบใช้ทองขาวยังไม่เท่าไร?? แต่เบรกทรานซิสเตอร์ขึ้นมานี่? บางทีถึงต้องเปลี่ยนกันเลยทีเดียว? เพราะต่อไปมักทำให้เครื่องยนต์สั่นโดยไม่ทันนึกว่ามาจากตัวนี้ได้
     
    แผงวงจรที่ผมว่าไว้ตอนแรกนั้น? พอจะล้างได้ด้วยน้ำซึ่งทำการ DEIONIZED?? จากนั้นก็เอาไปอบที่ความร้อน? 120? องศาฟาเรนไฮต์สัก? 30? นาที? แล้วพ่นด้วยสเปรย์แล็กเกอร์เคลียร์ก่อนจะนำมาใช้ใหม่? ซึ่งก็ยังไม่แน่นักว่าจะทนทานต่อไปได้สักเพียงไร? โชคดีก็รอดตัว
     
    คลัตช์ของแอร์คอมเพรสเซอร์ควรได้รับการตรวจเช็กว่าใช้การได้หรือไม่
     
    ดวงไฟฟ้าหน้ารถก็อย่ามองข้าม? น้ำอาจจะเข้าไปค้างอยู่? เอาออกเสียให้หมดก่อนที่จานจ่ายจะกลับบ้านเก่าเพราะน้ำทำเหตุ
บันทึกการเข้า
win-win
Full Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID number: 56
กระทู้: 126
$10.01 credits

View Inventory
Send Money to win-win

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 376
-ได้รับ: 461



พลังชีวิต
0%


« ตอบ #2 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2011, 15:41:31 »

คู่มือแก้ปัญญาหารถน้ำท่วมฉบับหัวหมอ

(คู่มือแก้ข้อโต้แย้งกับบริษัทประกันภัย)

  สำหรับคู่มือฉบับนี้ที่จะบอกกล่าวไปยังเจ้าของรถยนต์ที่โดยน้ำท่วมและมีประกันภัยประเภทต่าง ๆ

รถที่โดยน้ำท่วมในครับนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม ใหญ่ ๆ  คือ

- ก    กลุ่มไม่มีประกัน

- ก   กลุ่มที่มีประกัน

 ในที่นี้จะกล่าวถึงกลุ่มรถยนต์ที่มีประกัน

 ในกลุ่มที่เอาประกันภัยไว้แบ่งย่อยออกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ หรือ 5ชั้น ตามประสาประกันภัยที่ชอบเรียกกัน

 วันนี้จะขอกล่าวถึงการประกันประเภทที่ 1 หรือชั้น 1 ก็แล้วกัน ส่วนการประกันภัยประเภทอื่น ขอไว้ครั้งต่อ ๆไปก็แล้วกัน

 การประกันภัยประเภทที่ 1 หรือชั้นหนึ่งนั้น คุ้มครองรถน้ำท่วมครั้งนี้ด้วยครับ “ย้ำคุ้มครองครับ”

“แล้วอะไรละรถน้ำท่วม รถฉันขับหนีน้ำวันก่อนบริษัทบอกว่าไม่คุ้มครอง”

“ของฉันน้ำท่วมทั้งคันมิดเลย ยังไม่ได้ยกเลยเจรจาแล้วว่าจะจ่ายค่าซ่อมแค่ 80 % “

“แล้วค่ารถยกอีกใครรับผิดชอบ เจ็บใจจริง ๆ ตอนรับเงินไม่เห็นพูดอะไรเลย”

“ของพ้มซื้อรถใหม่มาไม่เห็นกรมธรรม์ประเภท 1 สักหิดไม่รู้คุ้มครองหม้าย”

แล้วที่นี้ฉานอีทำพรือดี ไหนบอกมาถี้

 จากคำถามดังกล่าวข้างต้นที่ผมได้ยินจากเจ้าของรถที่ถูกครั้งก่อน ปี 2543

 ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่ควรทราบไว้ต่อสู่กับบริษัทประกันภัยหรือกับเจ้าของอู่ซ่อมรถยนต์ทั้งหลาย

 แล้วอย่างไรละรถน้ำท่วม

ขับรถอยู่ดี ๆ รถเสียหลักตกข้างทางจมน้ำทั้งคัน

 ขับรถไปตามถนนไม่ทราบว่าถนนข้างหน้ามีน้ำท่วมสูงขับรถลุยไปเรื่อย ๆ น้ำเข้าเครื่องยนต์เครื่องดับ น้ำเข้าห้องโดยสารได้รับความเสียหาย

 จอดรถไว้น้ำมากน้ำท่วม

1)  ขับรถอยู่ดี ๆ รถเสียหลักตกข้างทางจมน้ำทั้งคัน  รถเสียหลักตกข้างทางจมน้ำชัดเชนบริษัทประกันภัยปฏิเสธความคุ้มครองไม่ได้ ไว้คราวหน้าจะลงลึกไปในรายละเอียด

2)  ขับรถไปตามถนนไม่ทราบว่าถนนข้างหน้าน้ำท่วมขับรถลุยน้ำไปเรื่อย ๆ น้ำเข้าเครื่องยนต์เครื่องดับ น้ำเข้าห้องโดยสารได้รับความเสียหาย ขับรถลุยน้ำ-ผ่านน้ำเข้า น้ำเข้าห้องเครื่องและส่วนอื่น ๆ ได้รับความเสียหาย คุ้มครองหรือไม่คุ้มครอง

- เ      เพื่อตัดประเด็นข้อโต้แย้งต่างจากบริษัทประกันภัย “การให้คำให้การกับเจ้าหน้าที่สินไหมของบริษัทประกันภัย บอกไปเลยว่าไม่ทราบว่า ไม่ทราบว่าน้ำท่วมถนนสูงมากจนขับรถผ่านไม่ได้

แล้วหัวหมอตรงไหน

หากท่านเจ้ารถบอกว่า ทราบว่าถนนสายนั้นน้ำท่วมสูงเนื่องจากอะไรก็แล้วแต่ สามารถทำความเสียหายให้กับรถยนต์ได้แล้ว จะเข้าข่ายข้อยกเว้นว่าด้วยเจตนาหรือจงใจทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย บริษัทประกันภัยบางบริษัทจะยกมาเป็นข้อโต้แย้งไม่คุ้มครองความเสียหายนั้น

การเปิดช่องให้บริษัทประกันภัยมีข้อโต้แย้งในลักษณะนี้ได้ เปรียบเหมือนนักมวยเปิดคางให้คู่ต่อสู้ต่อยนับ 8 คือตกเป็นรองทันที

ข้อควรทราบ ไม่ว่าท่านจะให้การว่าอย่างไรบริษัทประกันภัยไม่อาจปฏิเสธความรับรับผิดชอบได้เนื่องจากไม่มีหลักฐานขณะเกิดเหตุว่าท่านเจตนาหรือไม่ เว้นแต่มีเจ้าหน้าที่ยืนแจ้งให้ทราบว่าทางสายนี้ห้ามผ่าน แต่ตัวท่านดื้อดึงทีจะไป แล้วบริษัทตรวจสอบจนมีหลักฐานชัดเชน

แต่การยกข้อโต้แย้งว่าท่านเจตนาขับรถลุยน้ำก็เพื่อเป็นข้อต่อรองในการลดค่าจัดซ่อมหรือค่าใช้จ่าย คือจะขอลดค่าจัดซ่อมให้ถูกที่สุดว่าอั้นเถอะ เช่น ค่าซ่อม 50,000 บาท ยกข้อโต้แย้งนี้มาพร้อมกับข้อเสนอขอจ่าย 60% หรือ 80% บ้าง พร้อมกับสารพัดเหตุผลที่จะยกมากล่าวอ้าง เพื่อกล่อมท่านเจ้าของรถให้ตกลง หากท่านเจ้าของรถใจอ่อนก็เข้าทางครับ ประหยัดได้หลายตัง เจ้านายชอบ

3)  จอดรถไว้น้ำมากน้ำท่วม เหมือนที่ หาดใหญ่และที่อื่น ๆ ผมขอไล่เป็น ข้อๆ ละกัน

๑) รถน้ำท่วมประสบเหตุโดยไม่เจตนาหรือจงใจทำให้เกิดเหตุ

๒) เจ้าของรถทราบว่ารถน้ำท่วมได้รับความเสียหาย

๓) ท่านเจ้าของรถห้ามสตาร์ทเครื่องยนต์เด็ดขาดไม่ว่ากรณีใด ๆ

๔) ให้ถอดแบตเตอรี่เก็บไว้

๕) แจ้งบริษัทประกันให้ทราบและมาตรวจสอบความเสียหาย

๖) เจ้าของรถเก็บทรัพย์สินในรถออกให้หมด

๗) ล้างรถให้สะอาด ทำไมต้องล้างรถ น้ำที่ท่วมรถยนต์มีความสกปรกสามารถทำให้รถเป็นสนิมได้และอาจได้รับความเสียหายเพิ่มเติม

๘) ก่อนล้างรถให้ถ่ายภาพเก็บไว้ โดยให้เน้นคราบร่องรอยน้ำท่วม “น้ำท่วมสูงขนาดไหน โดยให้มีเสาไฟฟ้าหรือทรัพย์ถาวรอื่น ๆ เปรียบเทียบ

๙) ล้างได้ไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่บริษัทประกันมาตรวจสอบ บริษัทประกันภัยชอบเสียอีกไม่ต้องเสียค่าล้างรถคัดละ 500 บาท

๑๐) เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัยมาตรวจสอบ

-ถ้าเป็นพนักงานของบริษัทไม่มีปัญหาครับส่งมอบรถได้เลย ขอหลักฐาน เช่นไม่สั่งซ่อม กรณีนี้อาจไม่ออกใบสั่งซ่อม ให้ขอเลขเคลมหรือเลขรับแจ้ง พร้อมเบอร์โทร ชื่อพนักงานท่านนั้นถ้าเป็นนามบัตรยิ่งดี

-ถ้าเป็นพนักงานบริษัทเซอร์เวย์ ให้ติดต่อกลับไปยังบริษัทที่ท่านมีประกันภัยอยู่แจ้งให้ให้บริษัททราบว่ามีพนักงานที่ท่านส่งมามาดูรถเรียบร้อยแล้ว เหตุที่โทรเพื่อขอคำยืนยันว่าใช่แน่ ขอหลักฐานต่าง ๆเหมือนข้างต้น

- บริษัทประกันให้รถยกมายก ไม่ต้องให้รถไปไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้ท่านตรวจสอบให้แน่ใจ ตรงนี้ให้ท่านทำทุกวิถีทางให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทมาพบท่านให้ได้

  ๑๑) รถยก มายกรถท่านเข้าอู่ สอบถามว่าเข้าอู่ไหน

  ๑๒) เดินทางไปที่อู่ดูว่ารถท่านอยู่ที่นั้นจริงหรือไม่

  ๑๓) สอบถามเจ้าของอู่ ว่ารถของท่านสามารถรื้อหรือซ่อมได้วันไหน

 - คำตอบที่ท่านได้รับอย่าพึ่งตกใจ คำตอบนั้น มีอยู่ว่าไม่ทราบครับ รถเยอะทำ ไม่ทัน ขอให้ท่าน เจ้าของรถใจเย็น

 ๑๔) ค่ายกลากท่านไม่ต้องจ่ายทุกรณี

  - ค่ายกลากรถคันเกิดเหตุบริษัทประกันภัยจะรับผิดชอบไม่เกิน 20 %ของค่าจัดซ่อม เช่น ค่าจัดซ่อม 100,000 บาท บริษัทประภัยรับผิดชอบค่ายกลากตามจริงไม่เกิน 20,000 บาท

 -ผิดจากนี้เอาเปรียบกันเห็น ๆ

๑๕) ให้ท่านเดินทางไปพบเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันนั้น ๆ ที่สาขาที่บริษัทเหล่านั้นตั้งอยู่ พร้อมแจ้งความประสงค์ให้ทราบว่าท่านมาทำอะไร เช่น

 -ท่านต้องการให้รถจัดซ่อมโดยเร็ว

 -ท่านต้องการว่ารถซ่อมกี่วันเสร็จ

 -ท่านต้องการทราบว่าท่านต้องรับผิดชอบค่าอะไรบ้าง

 -ท่านต้องการทราบรถท่านเสียหายอะไรบ้าง อย่างไร

 -อื่นแล้วแต่ท่านสงสัย หากท่านสงสัยประเด็นใดให้ถามให้หมด

๑๖) ข้อสุดท้ายที่ท่านต้องถามคือ ขอยกรถไปซ่อมจังหวัดอื่นได้ไหม เป็นคำแนะนำให้ท่านทำทุกวิถีทางเพื่อให้รถของท่านไปซ่อมที่จังหวัดอื่น ๆ ให้ได้ดังที่ท่านไปเห็นแล้วว่าที่อู่ ที่รถท่านจัดซ่อมอยู่มีรถยนต์ของท่านอื่นที่ประสบเหตุพร้อมกันจอดอยู่หลายคัน เช่นเดียวกัน แล้วอย่างนี้รถของท่านเมื่อไหร่จะได้จัดซ่อมและซ่อมเสร็จละแล้วอู่เหล่านั้นก็โดยน้ำท่วมด้วย

๑๗) กังวลเรื่องค่ายกลากใช่ไหมละ “ค่ายกลากจากบ้านท่านมายังอู่ในตัวเมืองหาดใหญ่ ไม่เกิน 2,500 บาท ถ้าจัดจะจัดซ่อมที่กรุงเทพ ค่ายกลากกรุงเทพหาดใหญ่ไม่ 10,000 บาท หากรถยนต์ท่านอายุการใช้งานไม่เกิน 2 ปี ค่าจัดซ่อมหลักแสนทั้งนั้น ไม่ต้องกังวลครับยืนกระต่ายขาเดียวไปเลย

ซ่อมกรุงเทพ ฯ อู่มาตรฐานกว่าใกล้แหล่งอะไหล่มากกว่า ถึงตรงนี้ตัดสินใจเอาเองก็แล้วกัน

เอารถเข้าอู่ได้แล้วขอจบตอนก่อนครับวันหลังจะมาต่อให้จบ สงสัยประเด็นใดหรือจะให้ตอบเรื่องใดเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์ยินดีครับ
บันทึกการเข้า
win-win
Full Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID number: 56
กระทู้: 126
$10.01 credits

View Inventory
Send Money to win-win

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 376
-ได้รับ: 461



พลังชีวิต
0%


« ตอบ #3 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2011, 15:47:17 »

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=kwBdwk73YuY" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=kwBdwk73YuY</a>
บันทึกการเข้า
superswing40
Newbie



ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID number: 33336
กระทู้: 1
$0.00 credits

View Inventory
Send Money to superswing40

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 0
-ได้รับ: 1



พลังชีวิต
0%


« ตอบ #4 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2012, 11:08:36 »


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กุมภาพันธ์ 2012, 16:05:11 โดย superswing40 » บันทึกการเข้า
realnook
St. Member
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID number: 51465
กระทู้: 98
$0.00 credits

View Inventory
Send Money to realnook

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 72
-ได้รับ: 123



พลังชีวิต
0%


« ตอบ #5 เมื่อ: 30 มกราคม 2015, 15:06:54 »

 เก็กหล่อ  เพิ่มเติมสำหรับข้อ 4 จ้า  ถ้าเป็นรถเก่า โดยเฉพาะ 7 ปีขึ้นไป แค่ขับผ่านที่น้ำเจิ่งนอง หรือขับตากฝนในหน้าฝน (ไม่จำเป็นต้องขับเข้าพื้นที่น้ำท่วม) ควรจะสำรวจพรม

แต้พรม เมื่อกลับมาถึงบ้านด้วย เพราะเจอกับตัวเอง พรมเปียก กลายเป็นรังมดดำในเวลาไม่นาน มดขนไข่ขึ้นมาเต็ม... สุดท้าย พอให้อู่ งัดใต้พรม พลาสติกที่คลุมสายไฟข้าง

ประตูรถออก เจอรังมดดำขึ้นเต็มเลย และพบว่าเป็นแอ่งน้ำใต้พรมพื้นรถเลย... เหตุเกิดจาก ฝายางที่ปิดครอบใต้ท้องรถเสื่อมสภาพนั่นเอง

ดังนั้น  ฮือ ๆ  อย่าลืมมองตรงจุดนี้ด้วยนะทุกคน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP

Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
SimplePortal 2.3.5 © 2008-2012, SimplePortal | Thai language by ThaiSMF

SMFAds for Free Forums
© Copyrights 2010 navthai.com mod by trex_ln
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 43 คำสั่ง