08 มิถุนายน 2024, 01:40:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เว็บบอร์ด   ช่วยเหลือ ซื้อขายสินค้า Shop เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ:  ไขปริศนา ทำไม "เมกะเควก" ไม่มี "มหาสึนามิ"?  (อ่าน 2997 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
^SuRaYoOt^
Global Moderator
**


สูงต่ำอยู่ที่เราทำตัว ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวเราทำ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
ID number: 6
กระทู้: 14423
$3658.87 credits

View Inventory
Send Money to ^SuRaYoOt^

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 1788
-ได้รับ: 69260



พลังชีวิต
0%


« เมื่อ: 14 เมษายน 2012, 04:57:39 »


ไขปริศนา ทำไม "เมกะเควก" ไม่มี "มหาสึนามิ"?



แผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนได้ 8.6 ริกเตอร์ ที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งจังหวัดอาเจะห์ออกไปราว 495 กิโลเมตร เมื่อเวลา 14.38 น. ตามเวลาท้องถิ่น (15.38 น.เวลาไทย) เมื่อ 11 เมษายนที่ผ่านมา กับอีกครั้งที่เกิดขึ้น 2 ชั่วโมงต่อมาห่างออกไปราว 200 กิโลเมตร วัดความรุนแรงได้ 8.2 ริกเตอร์ ล้วนจัดเป็นแผ่นดินไหวในหมวด "เมกะเควก" คือกลุ่มที่ไหวรุนแรงที่สุด วัดแรงสั่นสะเทือนได้ตั้งแต่ 8.0 เป็นต้นไป

แผ่นดินไหวครั้งแรกนั้น ผู้สื่อข่าวของบีบีซีที่อยู่ในบันดา อาเจะห์ เมืองเอกของจังหวัดอาเจะห์ ระบุว่า เขย่าแผ่นดินสั่นไหวอยู่นานร่วม 5 นาที ครั้งที่ 2 ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีในพื้นที่เดียวกันบอกว่าแผ่นดินสั่นไหวอย่างรุนแรงนานถึง 4 นาทีแรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ไกลถึงบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของประเทศอินเดียเลยทีเดียว

คำถามก็คือ ทำไม "เมกะเควก" อย่างเช่นในกรณีนี้ ไม่ก่อให้เกิด "มหาสึนามิ" ขึ้นเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในเหตุแผ่นดินไหวในบริเวณใกล้เคียงกันนี้เมื่อปี 2547 (ความรุนแรง 9.1 ริกเตอร์ สึนามิสูง 8-10 เมตร) และแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นเมื่อ 11 มีนาคม ปี 2554 (ความรุนแรง 9.0 ริกเตอร์ สึนามิสูง 10 เมตร)สึนามิที่เกิดขึ้นและวัดได้สูงที่สุด เป็นคลื่นที่ซัดเข้าหาชายฝั่งของเกาะบางแห่งใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว สูงเพียง 80 ซม.

เพื่อทำความเข้าใจเรื่องนี้ ต้องทำความเข้าใจชนิดของการเกิดแผ่นดินไหว และสาเหตุของการเกิดสึนามิ ดังต่อไปนี้



ชนิดของแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก ที่เหมือนลอยอยู่เหนือของเหลว เพราะในชั้นใต้เปลือกโลกยังคงร้อนขนาดหลอมละลายเป็นเเม็กมาและเคลื่อนไหว (หรือไหล) ไปในทิศทางแตกต่างกัน

การเคลื่อนไหวของแม็กมานี่เองที่ทำให้แผ่นเปลือกโลก ซึ่งไม่ได้ต่อสนิทเป็นแผ่นเดียวกัน แต่มีรอยแยกแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่มากมายเคลื่อนไหวตามไปด้วยในทิศทางที่แตกต่างกัน

การเคลื่อนตัวในทิศทางที่แตกต่างกันของแผ่นเปลือกโลกนี่เอง ที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นเกิดชนเข้าด้วยกัน หรือแยกออกจากกัน กลายเป็น "รอยเลื่อน" ขึ้นมาหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้



ถ้าหากเกิดมีอุปสรรคไปขัดขวางการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้ง 2 ด้านของรอยเลื่อนระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวจะขึ้นอยู่กับว่า เกิดการสั่งสมแรงในจุดที่เป็นอุปสรรคของการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกมากน้อยแค่ไหน

มีการจำแนกรอยเลื่อนเป็นชนิดต่างๆ ตามรูปแบบของการเคลื่อนตัว ประกอบด้วยรอยเลื่อนทั่วไป (นอร์มอล สลิป หรือบางทีเรียก ดิป-สลิป ฟอลท์) เป็นส่วนรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่ส่วนแรกอยู่คงที่ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งทรุดตัวลงในแนวดิ่ง หรือเกือบจะเป็นแนวดิ่ง

รอยเลื่อนแบบสวนทางในแนวราบ (สไตรค์-สลิป ฟอลท์) คือรอยเลื่อนที่เกิดจากการที่แผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคลื่อนที่สวนทางกันในแนวราบ หรือเกือบจะเป็นแนวราบ หรือแผ่นเปลือกโลกด้านหนึ่งของ

รอยเลื่อนเคลื่อนตัวออกไปในแนวราบ ถ้าเป็นด้านซ้ายเรียกว่าเลฟท์ เลเทอ รัล ฟอลท์ ถ้าเป็นด้านขวาก็เรียกไรท์ เลเทอรัล ฟอลท์แผ่นดินไหวที่นอกชายฝั่งสุมาตราเกิดขึ้นจากรอยเลื่อนในลักษณะนี้

เช่นเดียวกับแผ่นดินไหวที่เฮติ ปี 2553

รอยเลื่อนที่ชนเข้าด้วยกัน (คอนเวอร์เจนท์ ฟอลท์) เกิดจากการที่แผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคลื่อนที่เข้าหาและชนกันขึ้น เมื่อเกิดการกระแทกจะเกิดแผ่นดินไหวและผิวนอกของเปลือกโลกถูกดันให้สูงขึ้น ภูเขา หรือเกาะแก่งในมหาสมุทรหลายแห่งเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้

รอยเลื่อนแบบแยกออกจากกัน (ไดเวอร์เจนท์ ฟอลท์) เกิดขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคลื่อนที่ออกจากกันในทิศทางตรงกันข้าม อาจเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้แต่ไม่รุนแรงมากนัก แต่จะปรากฏรอยแยกชัดเจน ในบางกรณีอาจมีแม็กมาปะทุขึ้นมาเป็นลาวาได้เช่นกัน

รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (ธรัสท์ ฟอลท์) เกิดจากการที่แผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น เคลื่อนที่เข้าหากันในทิศทางตรงกันข้ามแต่แผ่นเปลือกโลกด้านหนึ่งเคลื่อนตัวเอียงทำมุม 45 องศาหรือน้อยกว่า มุดลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง แผ่นดินไหวที่เกิดจากรอยเลื่อนลักษณะนี้ มักรุนแรงและหากเกิดใต้ทะเล มักก่อให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่ เช่นกรณีแผ่นดินไหวสุมาตราในปี 2547 และแผ่นดินไหวเซนได ญี่ปุ่น ในปี 2554

ทำไมสึนามิที่เกิดถึงมีขนาดเล็ก?

เอมี่ วอฮาน นักธรณีฟิสิกส์แห่งศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวแห่งชาติ (เอ็นอีไอซี) ในสังกัดสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยา (ยูเอสจีเอส) แห่งสหรัฐอเมริกา อธิบายถึงความแตกต่างหลายอย่างระหว่างแผ่นดินไหว

เมื่อวันที่ 11 เมษายน กับแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547

แรกสุดก็คือ ชนิดของการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งเมื่อปี 2547 นั้นเป็นแผ่นดินไหวที่เกิดจากรอยเลื่อนในลักษณะธรัสท์ ฟอลท์ โดยที่แผ่นเปลือกโลกที่เรียกว่าแผ่นอินเดียน เพลท เคลื่อนที่ไปทางตะวันออกโดยมุดลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นคือ แผ่นเบอร์มาเพลท ที่เล็กกว่าแผ่นดินไหวในลักษณะนี้มักรุนแรงมากถึงมากที่สุด เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่มากๆ และมักก่อให้เกิดสึนามิรุนแรง

เพราะเมื่อแผ่นหนึ่งมุดลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่งนั้น จะดันแผ่นที่อยู่ด้านบนให้ลอยสูงขึ้น

เมื่อปี 2547 ส่วนของแผ่นเปลือกโลกที่มุดลงไปอยู่ใต้แผ่นเบอร์มาเพลท มีขนาดเกือบเท่ากับประเทศไทยทั้งประเทศ ทำให้แผ่นเบอร์มาเพลท สูงขึ้นถึง 15 เมตร มวลของน้ำมหาศาลที่อยู่เหนือแผ่นเบอร์มาเพลท ที่ถูกยกระดับขึ้นกะทันหัน เทลงมาด้านล่างทุกทิศทุกทาง ก่อให้เกิด "มหาสึนามิ" ขึ้นตามมา

ตรงกันข้ามกับแผ่นดินไหวเมื่อ 11 เมษายน มันเกิดขึ้นจากรอยเลื่อนขนาดย่อมที่อยู่บนแผ่นเปลือกโลกที่เรียกว่า "ออสเตรเลียน เพลท" ด้วยกัน

แต่ไหลแยกออกจากกันในทิศทางตรงกันข้าม แต่ในแนวราบ มวลน้ำเพียงถูกดันให้เคลื่อนออกไปในแนวราบ ไม่มีการยกตัวขึ้นสูงเฉียบพลันแต่อย่างใด

จึงก่อให้เกิดเพียง "ระลอกสึนามิ" ระดับไม่เกิน 80 ซม.เท่านั้นเอง

ข้อสังเกตของนักธรณีวิทยา

ข้อมูลดั้งเดิมทางธรณีวิทยาว่าด้วยแผ่นดินไหวก็คือ แม้ว่าแผ่นดินไหวชนิดที่พอรู้สึกได้ (ความรุนแรงระหว่าง 2.5-5.4 ริกเตอร์) จะเกิดขึ้นได้ทุกวัน วันละไม่น้อยกว่า 80 ครั้ง ปีละราว 30,000 ครั้ง แต่ตามสถิติเท่าที่เคยมีการจดบันทึกกันมา แผ่นดินไหวรุนแรงในระดับ 8.0 ริกเตอร์ขึ้นไปนั้นจะเกิดขึ้นเพียง 1 ครั้ง ในระยะเวลาระหว่าง 5-10 ปี

แต่แผ่นดินไหวระดับ 8.6 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 11 เมษายน กลับนับเป็นแผ่นดินไหวเกินระดับ 8.0 ริกเตอร์ เป็นครั้งที่ 7 แล้วในรอบระยะเวลาเพียงแค่ 8 ปี นับตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหว 9.1 ริกเตอร์ ขึ้นนอกฝั่งสุมาตราเมื่อปี 2547 ทุกครั้งเกิดอยู่ในวงรอบที่เรียกว่า "วงแหวนแห่งไฟ" ทั้งสิ้น

เกิดอะไรขึ้น? ธอร์น เลย์ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตซานตาครูซ สหรัฐอเมริกา และเพื่อนนักวิชาการด้านธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์กลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งกำลังตั้งข้อสงสัยว่า แผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตราหนนั้นทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง

ตามทฤษฎีของเลย์ เหตุแผ่นดินไหวระดับมหึมาเมื่อปี 2547 ส่งผลกระทบไปทั่วบริเวณ "ริง ออฟ ไฟร์" ไล่ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกระนาด และก่อให้เกิดแผ่นดินไหวระดับ "เมกะเควก" ขึ้นตามมาถี่ยิบ

จากเกาะสุมาตราในปี"47 (9.1 ริกเตอร์) เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขึ้นที่บริเวณหมู่เกาะคูริล 2 ครั้งซ้อนในปี 2549 (8.3 ริกเตอร์) และ 2550 (8.1 ริกเตอร์), เสฉวน ประเทศจีนในปี 2551 (8.1 ริกเตอร์) แล้วก็เป็นนอกชายฝั่งชิลี ในปี 2553 (8.8 ริกเตอร์) ต่อด้วย เซนได ญี่ปุ่น (9.0 ริกเตอร์) ในปี 2554 และสุมาตราในปี 2555 นี้อีกครั้ง

ทฤษฎีของธอร์น เลย์ มีเหตุมีผลอยู่ในตัว แต่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ในเชิงสถิติ เพราะข้อมูลในเชิงสถิติยังน้อยเกินไป

แต่ถ้าหากทฤษฎีดังกล่าวเป็นจริง หมายความว่าอีกไม่ช้าไม่นาน แผ่นดินไหวใหญ่จะเกิดขึ้นตามมาอีกครั้ง

ขึ้นอยู่กับว่าจุดใดบน "วงแหวนแห่งไฟ" จะเจอแจ๊กพ็อตเท่านั้นเอง

ที่มา มติชนออนไลน์ครับ  สำนึกผิด สำนึกผิด

ทราบสาเหตุกันแล้วนะครับ ว่าทำไม?
บันทึกการเข้า

ไม่รับตอบปัญหาทาง PM  ไม่ต้องขอโปรแกรมทุกชนิดทาง PM

 
HS8EVL
Sr. Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
ID number: 10564
กระทู้: 122
$0.01 credits

View Inventory
Send Money to HS8EVL

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 274
-ได้รับ: 227



พลังชีวิต
0%


« ตอบ #1 เมื่อ: 14 เมษายน 2012, 09:55:26 »

ขออนุญาตท่านพี่^SuRaYoOt^ นำบทความนี้ไปเผยแพร่ในแว็ปของพี่Groovy นะครับ   สำนึกผิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 เมษายน 2012, 09:59:19 โดย HS8EVL » บันทึกการเข้า
fortune
Team & Developers
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รางวัล:
LT Member
ID number: 19098
กระทู้: 2068
$5000.00 credits

View Inventory
Send Money to fortune

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 1500
-ได้รับ: 7850



พลังชีวิต
0%


« ตอบ #2 เมื่อ: 14 เมษายน 2012, 10:54:04 »

อ่านแล้วบ้านเราน่าจะได้จะได้ซ้อมรับมือ  โดยเฉพาะพวกที่อยู่บนอาคารสูง  และใต้เขื่อน

เพราะปกติ  ในขนาด 8 ริกเตอร์นี่ประมาณ 5-10 ปี มีสักครั้ง

นี่ใน 8 ปีหลัง  เขย่าไปแล้ว 7 ครั้ง  เสี่ยงกว่าปกติ 7 เท่า

บ้านเราอาจไม่เขย่าจนตึกพัง  บ้านพัง  แต่ที่มีคนเตือนเรื่องเขื่อนต้องระวัง อย่าประมาท แต่ไม่ตื่นตูม  

เพราะบ้านเราชอบ  "วัวหายล้อมคอก"  เป็นประจำ ครับ
บันทึกการเข้า
^SuRaYoOt^
Global Moderator
**


สูงต่ำอยู่ที่เราทำตัว ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวเราทำ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
ID number: 6
กระทู้: 14423
$3658.87 credits

View Inventory
Send Money to ^SuRaYoOt^

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 1788
-ได้รับ: 69260



พลังชีวิต
0%


« ตอบ #3 เมื่อ: 14 เมษายน 2012, 13:02:38 »

ขออนุญาตท่านพี่^SuRaYoOt^ นำบทความนี้ไปเผยแพร่ในแว็ปของพี่Groovy นะครับ   สำนึกผิด

ได้เลยครับ ด้วยความยินดี เรื่องดี ๆ แชร์กันไปเยอะ ๆ ยิ่งดีครับ  Smiley
บันทึกการเข้า

ไม่รับตอบปัญหาทาง PM  ไม่ต้องขอโปรแกรมทุกชนิดทาง PM

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP

Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
SimplePortal 2.3.5 © 2008-2012, SimplePortal | Thai language by ThaiSMF

SMFAds for Free Forums
© Copyrights 2010 navthai.com mod by trex_ln
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.175 วินาที กับ 42 คำสั่ง