11 พฤษภาคม 2024, 20:16:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เว็บบอร์ด   ช่วยเหลือ ซื้อขายสินค้า Shop เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ:  Digital TV คืออะไร? มาทำความรู้จักกันดีกว่า  (อ่าน 2950 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
^SuRaYoOt^
Global Moderator
**


สูงต่ำอยู่ที่เราทำตัว ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวเราทำ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
ID number: 6
กระทู้: 14423
$3658.87 credits

View Inventory
Send Money to ^SuRaYoOt^

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 1788
-ได้รับ: 69258



พลังชีวิต
0.67%


« เมื่อ: 23 มกราคม 2013, 20:40:44 »


Digital TV คืออะไร? มาทำความรู้จักกันดีกว่า



มารู้จักกับระบบ Digital TV ยกระดับการรับชมช่องฟรีทีวีแบบ HD ในประเทศไทย

หลายท่านคงกำลังข้องใจเกี่ยวกับการปรับใช้จาก TV Analog สู่ Digital TV  ที่กำลังจะมีขึ้นในปี 2558 นั้น
มาทำความรู้จักกับ Digital TV กันดีกว่าครับ...เริ่มเลย



1.Digital TV คืออะไร?

Ans. คือ ทีวีที่รับและแสดงสัญญาณภาพและเสียงในรูปแบบดิจิตอลผ่านเสาอากาศภาคพื้นดิน ซึ่งจะทำให้ได้รับชมภาพและเสียงที่มีคุณภาพที่ดีกว่าระบบอนาล็อก อีกทั้งจะทำให้มีจำนวนช่องรายการฟรีทีวีให้ดูมากขี้น จากเดิมระบบอนาล็อกมีจำนวนช่องฟรีทีวีเพียง 6 ช่อง แต่ถ้าเป็นระบบดิจิตอล ในเบื้องต้นจะมีช่องฟรีทีวีให้รับชมถึง 48 ช่อง โดย 24 ช่องเป็นของเอกชน และ อีก 24 ช่อง เป็นของรัฐบาล เช่น ช่องเพื่อการศึกษา และจะมี 4 ช่องที่แพร่ภาพแบบ HD

2. ประโยชน์ที่เราจะได้รับก็คือ

Ans. ประเทศไทยจะมีจำนวนช่องฟรีทีวีให้รับชมมากขึ้น เบื้องต้นจะอยู่ที่ 48 ช่อง
เราจะสามารถรับชมภาพด้วยความคมชัดแบบ HD หรือ Full HD ผ่านช่องฟรีทีวีได้
เราจะได้รับชมภาพแบบ Widescreen คือสามารถรับชมภาพได้เต็มจอทีวีตามต้นฉบับ

3. เทศไทยจะเลือกใช้ระบบ Digital TV แบบไหน

Ans. ระบบ DVB-T2 (Digital Video Broadcasting – Terrestrial 2nd generation)

4. ระบบ Digital TV แบบ DVB-T2 คืออะไร?

Ans. DVB-T2 เป็นมาตรฐานใหม่ของการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ซึ่งพัฒนามาจากระบบ DVB-T (Digital Video Broadcasting – Terrestrial ที่ใช้กันในทวีปยุโรปตั้งแต่ปี 1998) เพื่อทดแทนการออกอากาศระบบอนาล็อก โดยปรับปรุงนําเทคโนโลยีการผสมสัญญาณและเข้ารหัสแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากกว่า DVB-T จำนวน 1.5 เท่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งข้อมูลสัญญาณดิจิตอลให้ได้มากขึ้นเท่าตัว ทำให้สามารถส่งสัญญาณความละเอียดสูงแบบ HD หรือ FULL HD ได้ ให้ภาพที่คมชัดและเสียงรอบทิศทางได้อย่างเสถียรและระยะส่งสัญญาณไกลมากขึ้น ซึ่งอังกฤษเป็นประเทศแรกที่แรกใช้ DVB-T2 ปัจจุบันมี 17 ประเทศที่พัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว อีก 35 ประเทศกำลังเริ่มใช้เริ่มใช้ระบบนี้ รวมถีงประเทศในแถบอาเซียนด้วย ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า กัมพูชา บรูไน โดยประเทศในเขตอาเซียนทั้งหมดตกลงร่วมกันว่าจะระบบ DVB-T2

5. ทำอย่างไรถึงจะรับชมสัญญาณ แบบ Digital TV แบบ DVB-T2 ที่จะแพร่ภาพในประเทศไทยได้?

Ans. ทำได้2 วิธีคือ
1.ใช้ทีวีที่มี Built-in Digital Tuner แบบ DVB-T2 (ถ้าเป็น Tuner แบบ DVB-T ใช้รับสัญญาณไม่ได้)
2. ใช้ Set Top Box (STB หรือ กล่องรับสัญญาณ) ในการรับสัญญาณ ซึ่งต้องเป็น STB ที่รับสัญญาณของ DVB-T2 เท่านั้น
ดังนั้นไม่ว่าเราจะมีทีวีรุ่นเก่าแค่ไหน เป็นทีวีแบบจอตู้ LCD, LED, Plasma, Smart TV หรือ 3D ทีวีก็สามารถรับชม Digital TV ได้ทั้งนั้นเพราะตัว STB จะช่วยแปลงสัญญาณ แล้วส่งสัญญาณที่แปลงแล้วเข้าไปสู่ทีวี

6. Set top box มีราคาแพงไหม

Ans. ราคาของ STB ไม่น่าจะสูงมากนักน่าจะอยู่ที่ราวๆ 1,000 ถึง 2,000 บาทเท่านั้น ขึ้นกับสเป็คและลูกเล่นต่าง ตอนนี้ราคาในต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 45 USD หรือประมาณ 1,350 บาทเท่านั้น

7. ถ้าเราไม่มีทีวีที่มี Built-in Digital Tuner แบบ DVB-T2 หรือ STB เราจะสามารถดูฟรีทีวีช่อง 3,5,7,9, NBT และ สททได้อยู่หรือไม่

Ans. ยังคงดูได้อยู่เพราะรัฐบาลจะยังส่งสัญญาณการแพร่ภาพแบบ Analog ไปจนถึงปี 2563 ตามข้อตกลงของอาเซียน โดยระหว่างนี้ก็จะทำการแพร่ภาพสัญญาณแบบ Digital คู่ไปกับ Analog ด้วย ซึ่งหลังจากปี 2563 ก็จะทำการตัดสัญญาณแบบ Analog ซึ่งถ้าผู้ใช้งานไม่มีทีวีที่มี Built-in Digital Tuner แบบ DVB-T2 หรือ STB ก็จะไม่สามารถ รับสัญญาณได้อีกต่อไป (ตอนที่ประเทศเกาหลีเปลี่ยนสัญญาณการออกอากาศจากแบบเดิมเป็น Digital TV แบบ ATSC ใช้เวลาถึง 10 ปี จึงตัดสัญญาณแบบ Analog)

8. เมืองไทยจะเริ่มส่งสัญญาณแบบ Digital TV เมื่อไหร่

Ans. มีความน่าจะเป็นไปได้สูงที่จะเริ่มในช่วงกลางปีนี้

9. จำเป็นต้องใช้กับ Smart TV หรือไม่

Ans. ไม่จำเป็น ผู้ประกาศข่าวให้ข้อมูลผิดพลาดไปเอง จะรับสัญญาณได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Tuner ไม่ใช่ว่าทีวีรุ่นนั้นเป็น Smart TV หรือไม่


ขอบคุณ  lgblogger และข้อมูลจาก internet   สำนึกผิด สำนึกผิด
บันทึกการเข้า

ไม่รับตอบปัญหาทาง PM  ไม่ต้องขอโปรแกรมทุกชนิดทาง PM

 
ที-เร็กซ์
Web Editor
Team & Developers
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รางวัล:
meetingx1x1...
ID number: 1
กระทู้: 13119
$1000.15 credits

View Inventory
Send Money to ที-เร็กซ์

Referrals: 1
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 2565
-ได้รับ: 72129



พลังชีวิต
4%


navthaicom
« ตอบ #1 เมื่อ: 23 มกราคม 2013, 20:51:06 »

ณ. เวลานี้ กรุงเทพและปริฆณฑล มีแล้ว 7 ช่องครับ กสทช กำลังจะเปิดให้เอกชนเข้าไปประมูลความถี่เป็น 50 และ 80 ช่องเร็ว ๆ นี้ครับ.

ระบบที่บ้านเราใช้เป็น DVB-T2 ครับ GPS Android ในยุคหน้า (หลังตรุษจีนนี้แหละ) จะมีฟังก์ชั่น DVB-T2 มาด้วยครับ  สะใจจริง ๆ
บันทึกการเข้า

เพิ่มเพื่อน
^SuRaYoOt^
Global Moderator
**


สูงต่ำอยู่ที่เราทำตัว ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวเราทำ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
ID number: 6
กระทู้: 14423
$3658.87 credits

View Inventory
Send Money to ^SuRaYoOt^

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 1788
-ได้รับ: 69258



พลังชีวิต
0.67%


« ตอบ #2 เมื่อ: 23 มกราคม 2013, 21:10:12 »

′Digital TV′ จุดเปลี่ยนทีวีไทย...จริงหรือ?

ดิจิตอลทีวี 48 ช่อง ที่จะเกิดภายในปี 2013 จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและแข่งขันในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นหลัก แต่อาจต้องใช้เวลาในการสร้างความนิยมให้แก่ผู้บริโภค เนื่องจากระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านที่ใช้เวลานาน ประกอบกับการรับชมทางเลือกอื่นที่กำลังเติบโตได้ดี โดยหน่วยงานภาครัฐจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกไปสู่ดิจิตอลได้ตามเป้าหมาย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการในธุรกิจมีเดียและผู้บริโภคไทย

ดิจิตอลทีวีเป็นปัจจัยเอื้อต่อทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค แต่การเปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อกในปัจจุบันนั้นอาจต้องใช้ระยะเวลานานถึง 8-10 ปี กว่าจะเสร็จสมบูรณ์ จึงอาจดูเป็นเรื่องไกลตัวเกินไปสำหรับผู้บริโภคที่มีทางเลือกอื่น ทำให้รายจ่ายของผู้ประกอบการมีแนวโน้มสูงกว่ารายได้ในระยะแรก ดิจิตอลทีวี สำหรับการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial TV) ถูกคิดค้นมาแทนที่ระบบอนาล็อกเพื่อเพิ่มจำนวนช่องบริการและยกระดับคุณภาพสัญญาณให้คมชัดและไม่ถูกรบกวนได้ง่าย และยังสามารถพัฒนาให้รับชมในระบบความคมชัดสูง (High Definition) ระบบสามมิติ (3D) และการรับชมขณะเคลื่อนที่ (TV-on-Mobile) เพื่อตอบสนองกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ ในส่วนของผู้ประกอบการจะสามารถสร้างรายได้จากการให้บริการที่หลากหลายเพิ่มขึ้น เช่น บริการเสริมลักษณะโต้ตอบ (Interactive) เช่น VDO-on-Demand รวมถึงรายได้จากโฆษณาที่จะเพิ่มขึ้นจากการวัดเรตติ้งที่แม่นยำขึ้นผ่านระบบดิจิตอล

ในด้านรายจ่ายผู้ประกอบการยังสามารถประหยัดพลังงานในการส่งสัญญาณได้ถึง 90% เมื่อเทียบกับการส่งในระบบอนาล็อกเดิมอีกด้วย แต่ผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านต้นทุนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และวางโครงข่ายล่วงหน้า ในขณะที่ผู้บริโภคจะยังมีการใช้งานน้อยในช่วง 3 ปีแรก โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้สร้างแผนแม่บทในการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีนี้เป็นเวลาอย่างน้อย 8-10 ปี ซึ่งสอดคล้องกับระยะเวลาเปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อกเป็นดิจิตอลของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐ เช่นกัน

ดิจิตอลทีวีจะทำให้เกิดการแตกตัวทางธุรกิจมีเดียให้มีความหลากหลายมากขึ้น แต่ด้วยต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ทำให้อาจมีเพียงผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นหลักที่สามารถเข้าร่วมลงทุน การออกอากาศในระบบอนาล็อกเดิมจะประกอบไปด้วยผู้เล่นสองส่วนหลักคือ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ และช่องสถานีที่ทำการรวบรวมรายการและแพร่สัญญาณภาพ แต่ในระบบดิจิตอลจะมีการแตกตัวทางธุรกิจเพิ่มขึ้น ช่องสถานีโทรทัศน์อาจไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของโครงข่ายและปัจจัยพื้นฐานเองทั้งหมด นอกจากนั้น อาจเกิดธุรกิจใหม่ๆ เช่น ผู้รวบรวมสัญญาณการแพร่ภาพ และผู้ผลิตบริการประยุกต์ต่างๆ ที่ใช้สำหรับการออกอากาศ เป็นต้น
 



อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนระบบออกอากาศมาเป็นระบบดิจิตอลจะต้องลงทุนในอุปกรณ์เพิ่มเติม และยังต้องจ่ายค่าเช่าโครงข่ายหากไม่มีเป็นของตัวเอง และที่สำคัญ ยังต้องชำระค่าประมูลใบอนุญาตอีกด้วย ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่อาจต้องใช้เงินลงทุนหลักพันล้านบาทสำหรับหนึ่งช่องสถานี ซึ่งต่างจากการลงทุนทำช่องทีวีดาวเทียมที่ใช้เงินลงทุนเพียงหลักร้อยล้านบาท ดังนั้น การลงทุนในดิจิตอลทีวีน่าจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรายใหญ่จากฝั่งบรอดแคสติ้งรายเดิม เช่น กลุ่มฟรีทีวีเดิม (BEC, BBTV และ MCOT เป็นต้น) ที่ต้องการรักษาฐานตลาด และกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีขนาดใหญ่ (True, GMM และ RS เป็นต้น) ที่ต้องการขยายฐานลูกค้า

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มโทรคมนาคมขนาดใหญ่ที่สนใจเข้ามาลงทุนเช่นกัน โดยบริษัทเหล่านี้มีความได้เปรียบด้านเงินทุนและการมีโครงข่ายเป็นของตนเอง ส่วนผู้ประกอบการรายเล็กที่มีเงินลงทุนไม่สูงนัก คงจำต้องเน้นการลงทุนในช่องทีวีดาวเทียมหรือผลิตรายการให้กับเคเบิลทีวีในรูปแบบเดิมไปก่อน

กสทช.และหน่วยงานของรัฐมีบทบาทสำคัญในการจัดการกับทั้งปัจจัยผลักดันและปัจจัยฉุดรั้ง เพื่อให้กระบวนการเกิดดิจิตอลทีวีดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเป็นปัจจัยกดดันสำคัญที่ทำให้ไทยต้องเปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อกเป็นดิจิตอลทีวี เพราะภายในปี 2015 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้กล่าวเตือนถึงการยกเลิกการผลิตอุปกรณ์ในระบบอนาล็อกเดิมแล้ว ซึ่งถ้าหากไทยไม่เริ่มกระบวนการเปลี่ยนผ่านภายในเวลา 3 ปีข้างหน้าก็จะมีความเสี่ยงในด้านอุปกรณ์การใช้งาน โดยปัจจัยฉุดรั้งสำคัญคือ ความล่าช้าของการจัดประมูลใบอนุญาต ที่จะมีผลกระทบทางอ้อมทำให้บริการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมเติบโตได้ต่อเนื่อง และกลายเป็นคู่แข่งสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคขาดแรงจูงใจในการเปลี่ยนมาใช้ดิจิตอลทีวี

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริโภคยังต้องลงทุนซื้อกล่องรับสัญญาณ (Set-top box) หรือซื้อโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่รองรับดิจิตอลทีวี ซึ่งปัจจัยฉุดรั้งเหล่านี้พบในกระบวนการเปลี่ยนผ่านในหลายประเทศ โดยหน่วยงานที่กำกับดูแลคล้ายคลึงกับ กสทช. ได้มีบทบาทกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านเร็วขึ้น เช่น สหรัฐใช้วิธีกำหนดระยะเวลาและข้อห้ามในการขายอุปกรณ์ เพื่อบีบให้ผู้บริโภคที่ถึงรอบการเปลี่ยนอุปกรณ์ต้องซื้อในระบบดิจิตอล

ส่วนญี่ปุ่นใช้วิธีออกคูปองชดเชยผู้บริโภคในการเปลี่ยนอุปกรณ์ และอังกฤษเลือกถ่ายทอดรายการสำคัญ เช่น ฟุตบอลโลก และโอลิมปิกเกมส์ ผ่านระบบดิจิตอลเท่านั้น แต่ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านในแต่ละประเทศจะใช้เวลาเร็วช้าก็ขึ้นอยู่กับสภาวการณ์และพฤติกรรมผู้บริโภค

สำหรับไทยนั้น อาจใช้เวลาเร็วกว่า 8-10 ปีก็เป็นได้ ถ้าผู้ประกอบการสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์การรับชมที่ทันสมัย และมีช่องรายการต่างๆ ที่น่าสนใจเพียงพอที่จะดึงดูดผู้บริโภค เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคไทยจะปรับตัวรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้รวดเร็ว และยังนิยมรับชมโทรทัศน์เพื่อเข้าถึงสาระและความบันเทิงมากกว่าช่องทางอื่น

-หากดิจิตอลทีวีเกิดช้า จะส่งผลกระทบอย่างไร?

1.ผู้ให้บริการ-ผู้รับบริการมีความเสี่ยงที่จะไม่มีอุปกรณ์คุณภาพดีใช้งานภายหลังปี 2558 เนื่องจากทั่วโลกจะเริ่มยกเลิกการผลิตในระบบอนาล็อก ส่งผลให้อุปกรณ์มือสองจากทั่วโลกจะหลั่งไหลเข้ามาขายในไทยแต่อุปกรณ์มือหนึ่งจะหาได้ยากขึ้น

2.ทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีจะเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการเข้าถึงผู้บริโภคได้ถึง 90% ของครัวเรือนไทยภายในปี 2015 จากปัจจุบันที่มีอัตราการเข้าถึงผู้บริโภคอยู่ที่ 50-60% ทำให้ดิจิตอลทีวีที่เกิดขึ้นในภายหลังอาจไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และลดความน่าสนใจลงทุน

3.รายได้จากโฆษณากว่า 6 หมื่นล้านบาทจะยังคงกระจุกตัวอยู่กับฟรีทีวีเดิมทั้ง 6 ช่อง เนื่องจากไม่มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าแย่งส่วนแบ่งรายได้ค่าโฆษณา

-เมื่อดิจิตอลทีวีเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างไร?

1.ภายใน 3-5 ปีแรกนับจากนี้ หากแผนแม่บทของ กสทช.เป็นไปตามเป้าหมาย จะมีครัวเรือนที่รับชมดิจิตอลทีวีตามเมืองใหญ่สูงถึง 80% ทำให้มียอดขายกล่องรับสัญญาณ (Set-top box) หรือการซื้อโทรทัศน์ใหม่ ที่รองรับระบบดิจิตอลเพิ่มขึ้นรวมกันอย่างน้อย 7.2 ล้านเครื่อง

2.เกิดการแตกตัวทางธุรกิจแบบใหม่ อาทิ ผู้รวบรวมรายการ ผู้รวบรวมสัญญาณ และ ผู้ให้บริการเสริมต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการกระจายตัวของรายได้ไปยังผู้ให้บริการในส่วนต่างๆ และเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น

3.การวัดเรตติ้งโฆษณาจะมีความแม่นยำและเชื่อถือได้มากขึ้น ประกอบกับช่องรายการที่หลากหลายแต่แยกประเภทชัดเจนจะทำให้เจ้าของผลิตภัณฑ์สามารถทุ่มงบประมาณโฆษณาได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

-ใครเสียประโยชน์ เมื่อดิจิตอลทีวีเกิดขึ้น?

ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์รายเดิมจะได้รับผลกระทบจากจำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น และการแตกตัวของห่วงโซ่อุปทานที่จะเกิดการแบ่งสรรรายได้ออกไป หากไม่สามารถลงทุนดำเนินกิจการได้เองตลอดทั้งห่วงโซ่ ในส่วนผู้ผลิตรายการเพื่อขายสถานีโทรทัศน์นั้น ก็จะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากรายได้ของสถานีที่อาจลดลงจากการกระจายค่าโฆษณาไปยังจำนวนช่องที่เพิ่มขึ้น และต้องแข่งขันกันด้วยคุณภาพรายการที่รุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ ดิจิตอลทีวีเป็นปัจจัยเอื้อต่อทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค โดยข้อดีของระบบดิจิตอลต่อผู้บริโภค คือ ประชาชนสามารถรับชมรายการได้ชัดขึ้น 6 เท่า ไม่มีปัญหาเรื่องภาพเงาภาพซ้อน รับชมรายการฟรีทีวีได้เพิ่มมากขึ้นเป็น 48 ช่อง สามารถรับชมโทรทัศน์ผ่านมือถือได้ (TV-on-Mobile) และมีระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติอัตโนมัติผ่านโทรทัศน์

ข้อดีของระบบดิจิตอลต่อผู้ประกอบการธุรกิจมีเดีย ประกอบด้วย ประหยัดพลังงานในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ได้ถึง 90% ไม่ต้องลงทุนเองตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานเพราะเกิดการแตกตัวทางธุรกิจ สามารถสร้างรายได้เสริมจากบริการใหม่ๆ เช่น VDO-on-Demand และการวัดเรตติ้งทีวีทำได้แม่นยำมากขึ้น เพิ่มแรงดึงดูดการลงทุนในโฆษณา ทำให้รายได้ค่าโฆษณามีแนวโน้มสูงขึ้น

ที่มา มติชนออนไลน์ครับ   สำนึกผิด สำนึกผิด
บันทึกการเข้า

ไม่รับตอบปัญหาทาง PM  ไม่ต้องขอโปรแกรมทุกชนิดทาง PM

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ด่วน TV DIgital , TV DIgital HD ฟรี Limited time
iPhone, iPad
^SuRaYoOt^ 3 3470 กระทู้ล่าสุด 13 กันยายน 2014, 08:06:06
โดย ^SuRaYoOt^
digital preamp
DIY
มด [tewbc] 2 6054 กระทู้ล่าสุด 31 พฤษภาคม 2015, 20:54:35
โดย yoo
Powered by MySQL Powered by PHP

Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
SimplePortal 2.3.5 © 2008-2012, SimplePortal | Thai language by ThaiSMF

SMFAds for Free Forums
© Copyrights 2010 navthai.com mod by trex_ln
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.148 วินาที กับ 40 คำสั่ง