21 พฤษภาคม 2024, 18:31:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เว็บบอร์ด   ช่วยเหลือ ซื้อขายสินค้า Shop เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ:  ...เมื่อมีความละอายแก่ใจ...ก็ย่อมมีความเกรงใจ...เลยเกิดเป็น...มารยาททางใจ  (อ่าน 2366 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Groovygang
S8 member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รางวัล:
s8lt memberร้านค้าสมาชิกผู้สนับสนุน
ID number: 327
กระทู้: 1112
$10.04 credits

View Inventory
Send Money to Groovygang

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 196
-ได้รับ: 2623



พลังชีวิต
0%


เว็บไซต์
« เมื่อ: 02 สิงหาคม 2010, 18:27:24 »


เผอิญเจอบทความดีๆ เลยอยากจะแชร์ให้ลองอ่านกันดูครับ Roll Eyes

...เมื่อมีความละอายแก่ใจ...ก็ย่อมมีความเกรงใจ...เลยเกิดเป็น...มารยาททางใจ.  

มารยาททางใจ

     ผู้มีมารยาททางใจ คือผู้ที่ได้มีการปรับปรุงจิตใจให้ฝักใฝ่ในศีลธรรม คือเราทุกคนย่อมทราบว่าอะไรถูกอะไรผิดด้วยกันทั้งนั้น แลย่อมใฝ่ในคุณงามความดี ด้วยกันทั้งนั้น เมื่อเราไม่ชอบอะไรคนอื่นก็คงไม่ชอบเหมือนกัน จึงตนควรวางตนเป็นคนช่างใช้ความคิดเสมอ ศีลธรรมรวมกันเป็นเครื่องมือ ปรับปรุงความประพฤติทางกายและวาจา ทั้งเป็นเครื่องประคับประคองใจคนให้เที่ยงตรงต่อจุดหมาย คือความดีงามตามสมควรแก่เหตุ กับพิสูจน์ให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยใจตนเอง ตั้งจิตมั่นอยู่ในความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา พร้อมที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข คอยบำบัดทุกข์ของผู้อื่น เพื่อประกอบอาชีพในทางที่ชอบ และมีสติปัญญารอบคอบสุขุม รู้จักสิ่งใดควรประพฤติและสิ่งใดไม่ควรประพฤติ จิตใจย่อมแสดงออกให้ผู้อื่นเห็นโดยทางกิริยา วาจา สุภาพต่อคนทั่วไปจนเป็นที่นิยมเลื่อมใส เคารพนับถือแก่ผู้ที่ได้คบหาสมาคม ยิ่งกว่าผู้ทรงไว้ซึ่งรูปสมบัติหรืออุดมด้วยทรัพย์สมบัติแต่จิตใจทราม

ฉะนั้น บุคคลจึงควรระวังสำรวมความคิดจิตใจ ที่มักจะแสดงออกมาให้เห็นทางกิริยาและวาจาให้ถูกต้องและงดงาม เหมาะกับกาละเทศะ และแก่บุคคลในเวลาอยู่ในสมาคมหรือในที่สาธารณะ ดังต่อไปนี้

บุคคลใดจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีมารยาททางใจ หรือไม่มีมารยาททางใจ ขึ้นอยู่กับมโนกรรมของคนนั้น

     มโนกรรม คือการกระทำด้วยใจ มีความคิด ความรู้สึก ความต้องการต่างๆ ทั้งด้านดีและด้านร้าย เช่น ใจมีความเมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นอยู่เป็นสุข ใจมีความกรุณาสงสารเมื่อผู้อื่นได้รับความทุกข์ยาก ปรารถนาให้เค้าพ้นจากความทุกข์ เหล่านี้เป็นตัวอย่างมโนกรรมในด้านดี
ถ้าเป็นมโนกรรมในด้านชั่วร้าย ก็ได้แก่ความคิดที่เป็นอกุศล มักโกรธ มักอิจฉาพยาบาท เห็นผู้อื่นได้ดีก็เดือดร้อนใจตนเอง ต้องการให้ผู้อื่นได้ดีขึ้นนั้นถือเป็นความวิบัติล่มจมไปเสีย ดังนี้เป็นต้น

     มโนกรรมนี้เอง คือตัวการที่สั่งกายให้แสดงออกมาในกิริยาท่าทางต่างๆ นับตั้งแต่แววตา สีหน้า ท่าทาง และถ้อยคำน้ำเสียง มโนกรรมสั่งการในทางดี กาย วาจา ก็แสดงออกมาในทางดี กิริยาเรียนร้อย วาจาไพเราะ

     ถ้ามโนกรรมสั่งการในทางร้าย กิริยา วาจา จะเปลี่ยนไปในทางตรงข้าม อาจจะถึงแก่ใช้วาจาก้าวร้าวหยาบคายต่อกัน ใช้กำลังกาย กำลังอาวุธ เข้าต่อสู้ประหัตประหารกันถึงล้มตายไป เป็นต้น

     รวมความว่า ทุกลักษณะอาการที่กายแสดงออกมาให้ประจักษ์ด้วยตา ทางดีก็ตาม ทางชั่วก็ตาม และไม่ดีไม่ชั่วก็ตาม ล้วนมีต้นเหตุมาจากมโนกรรมก่อนทั้งสิ้น สมกับคำที่เปรียบเทียบกันว่า "ใจเหมือนนาย กายเหมือนบ่าว"

มโนกรรม มีความสำคัญสุดยอดดังกล่าวแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มโนหรือใจจะต้องได้รับการศึกษา ฝึกฝนอบรมให้มีศีลธรรม

     ผู้มีมารยาททางใจ ก็คือผู้ที่มีน้ำใจอันประกอบด้วยศีลธรรม และเป็นผู่ที่ประพฤติการอันเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวมนั่นเอง
ผู้มีมารยาททางใจนี้ นอกจากมีพื้นภูมิเดิมติดมาแต่ดั้งเดิมบ้างแล้ว ยังต้องได้รับการอบรมขัดเกลาให้รู้ผิดชอบชั่วดี บาปบุญ คุณโทษ จากบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ ท่านผู้รู้ทั้งหลายอีกมากมายและทั้งจากการศึกษาที่พบเห็นด้วยตนเอง จากบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของชาติ จากคำสอนทางศาสนาที่ตนเคารพนับถือยู่ เป็นต้น

ผู้มีศีลธรรม หรือมีมนุษยธรรมที่เรียกได้ว่าเป็นอารยะชน มีธรรมคือคุณสมบัติดังนี้คือ

     มีสุจริต ซึ่งนอกจากกายและวาจาสุจริตแล้ว ต้องมีความสุจริตทางใจ คือคิดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง เรียกว่าประพฤติชอบด้วยใจ เช่น ไม่โลภ เพ่งเล็งคิดหาทางเอาแต่จะได้ ไม่คิดร้ายเบียดเบียน ตั้งความปรารถนาดีมุ่งให้เกิดประโยชน์แก่กัน มีความเห็นอันถูกต้อง

     ผู้มีมารยาททางใจ นอกจากต้องเป็นผู้มีศีลธรรมดังกล่าวแล้วยังต้องประพฤติตนอันเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวมด้วย
หลักธรรมเป็นแนวปฏิบัติ ดังนี้คือ มีพรหมวิหาร คือธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐ หรือผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่กว้างขวางดุจพระพรหม 4 อย่าง ดังนี้

     เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี มีไมตรี ต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนประสบประโยชน์ ละความสุข

     กรุณา ความสงสาร อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ ใฝ่ใจที่จะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์จากความเดือดร้อนของผู้อื่น

     มุทิตา ความเบิกบานยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นอยู่ดีมีความสุข ก็มีจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน

     อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบ ไม่เอนเอียงด้วยรักหรือชัง

     เมื่อมีคุณธรรมภายในเป็นพื้นฐานจิตใจเช่นนี้แล้ว ย่อมทำให้การแสดงออกภายนอกเป็นไปอย่างบริสุทธิ์หนักแน่น และจริงจัง
นอกจากนั้นแล้ว ต้องฝึกฝนจิตให้มีความสันโดษ คือ ยินดี พึงพอใจแต่ในลาภผลซึ่งเกิดจากผลงานที่ตนแสวงหามาได้โดยชอบธรรม กำหนดจิตให้มีสติ จำการที่ทำ คำที่พูดแล้วได้ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่มีความประมาท อันจะทำให้เกิดผิดพลาดเสียหาย ไม่ปล่อยปละละเลยโอกาสที่จะกระทำความดีงาม

     เมื่อจิตได้รับการศึกษา ขัดเกลาอยู่เสมอ ก็ยิ่งมีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล รู้ดีรู้ชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความจริง รู้จักวินิจฉัยและทำการต่างๆด้วยความคิดและพินิจพิจารณา



ผู้มีมารยาททางใจ ย่อมส่งของคืนให้ผู้อื่นที่ได้สงเคราะห์ให้หยิบยืม
ผู้มีมารยาททางใจ ย่อมเป็นคนตรงต่อเวลาจนเป็นนิสัย
ผู้มีมารยาททางใจ ก่อนจะเข้าห้องผู้อื่นจำเป็นจะต้องเคาะประตูก่อนเสมอ เพราะต้องรู้จักเกรงใจเจ้าของห้อง
ผู้มีมารยาททางใจ ย่อมกล่าว "ขอบใจ" แก่ผู้ที่สงเคราะห์ช่วยเหลือ หรือให้เป็นสิ่งของแก่เราทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กสิ่งใหญ่
ผู้มีมารยาททางใจ ย่อมกล่าว "ขอโทษ" หรือ "เสียใจ" ในเมื่อเราทำอะไรพลั้งเผลอ และฝึกพูดสองคำนี้จนติดปาก

ผู้มีมารยาททางใจ ควรมีจิตเมตตาเผื่อแผ่แก่มิตร ไม่ทำตนเหนียวแน่นจนเกินไป แต่ต้องระวังเลือกสิ่งของให้ปันให้พอเหมาะ แม้จะเป็นสิ่งของเเล็กน้อยไม่มีค่าก็ถือว่าเป็นเครื่องหมายบอกความไมตรีต่อ กัน
ผู้มีมารยาททางใจ ย่อมรู้จักละอายใจและมีความเหนี่ยวรั้งใจตนเอง ในเรื่องการกระทำบาปต่างๆ เฉพาะเป็นสตรีย่อมมีความเหนี่ยวรั้งใจตนเองและมีความละอายไม่ประพฤติการอัน รู้อยู่แก่ใจว่าไม่เหมาะสมที่สุภาพสตรีจะประพฤติทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านจนเผลอแสดงออกมาทางกายวาจาให้คนรู้ไปถึงความคิดจิตใจ อันไม่งามของเรา
ผู้มีมารยาทดี ย่อมรู้จักเกรงใจผู้อื่น ไม่ล่วงเกินผู้ใด แม้ในสิ่งเล็กน้อย เช่น ไม่เข้าไปในขณะที่มีผู้อื่นอยู่ เช่น เข้าไปล้างมือในอ่างล้างตามสถานที่ต่างๆ มีโรงมหรสพ หรือในภัตตาคาร เป็นต้น ควรเกรงใจผู้มาคอยก่อน หรือผู้ที่กำลังใช้อยู่ ควรรอจนเขาเสร็จเรียบร้อย แล้วจึงจะเข้าไปทำธุระของเรา

ให้การศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดาผู้ยากจน
ช่วยเหลือผู้ป่วยไข้ที่ขาดแคลน
สงเคราะห์คนใกล้เคียงทั้งของตนเองและของสามี หรือญาติฝ่ายบิดามารดา และบุตร
ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนที่มีอายุสูง
ช่วยการศึกษาแก่ผู้ขาดแคลน
ช่วยเหลือสมาคม ที่บำเพ็ญประโยชน์แก่ประเทศชาติ
ช่วยเหลือครอบครัวที่มีคุณแก่เรา



ขอบคุณบทความดีๆ "บางส่วน" คัดลอกมาจาก Kroobannok.com  Smiley
บันทึกการเข้า

 
@ เติ้ล_อ๊อตโต้ @
Full Member
***


" โสดนะเรื่องจริง...ซิงนะข่าวลือ"
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
ID number: 8290
กระทู้: 133
$0.01 credits

View Inventory
Send Money to @ เติ้ล_อ๊อตโต้ @

Referrals: 0
คำขอบคุณ
-ได้ให้: 139
-ได้รับ: 250



พลังชีวิต
0%


« ตอบ #1 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2010, 08:48:03 »

อ่านแล้วได้ข้อคิดมากมาย  สา..........ธุๆๆๆๆๆ     
บันทึกการเข้า


หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP

Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
SimplePortal 2.3.5 © 2008-2012, SimplePortal | Thai language by ThaiSMF

SMFAds for Free Forums
© Copyrights 2010 navthai.com mod by trex_ln
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 37 คำสั่ง